วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


สัตว์ป่าสงวน ( Reserved Animals )



สัตว์ป่าสงวน
สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก ๑๕ ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕ ได้แก่ 

      แมวลายหินอ่อน


ชื่อสามัญ
Marble Cat
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pardofelis marmorata
ลักษณะ
เป็นแมวป่าขนาดกลาง น้ำหนักประมาณ 4 - 5 ก.ก. อาศัยอยู่ในป่าดงดิบและป่าดิบชื้น ส่วนใหญ่มักอยู่บนต้นไม้ ชอบออกหากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ แมลง งู นก หนู และลิงขนาดเล็ก

     


      พะยูน

ชื่อสามัญ
Dugong
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dugong dugon
ลักษณะ
ไม่ใช่ปลาแต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ตามท้องทะเลชายฝั่ง ไม่มีครีบหลัง น้ำหนักประมาณ 300 ก.ก. อยู่รวมกันเป็นครอบครัว หลายครอบครัวจะมาหากินรวมกันเป็นฝูงใหญ่ กินพืชจำพวกหญ้าทะเลตามชายฝั่ง ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องป ระมาณ 1 ปี

เก้งหม้อ


ชื่อสามัญ
Fea's Barking Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์
Muntiacus feai
ลักษณะ
ลักษณะคล้ายเก้งธรรมดา แต่สีลำตัวคล้ำกว่า หางสั้น ด้านบนสีดำตัดกับสีขาวด้านล่างชัดเจน ชอบอาศัยอยู่เดี่ยวในป่าดงดิบตามลาดเขา จะอยู่เป็นคู่เฉพาะในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ชอบกินใบไม้ ใบหญ้าและผลไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 6 เดือน






นกกระเรียน


ชื่อสามัญ
Sarus Crane
ชื่อวิทยาศาสตร์
Grus antigone
ลักษณะ
เป็นนกขนาดใหญ่ที่เคยพบตามท้องทุ่งที่ชื้นแฉะ และหนอง บึง เมื่อยืนมีความสูงราว 150 ซ.ม. ออกหากินเป็นคู่และกลุ่มครอบครัว และจะจับคู่อยู่ด้วยกันตลอดชีวิต มีความผูกพันกับคู่สูงมาก ชอบกินแมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์น้ำ เมล็ดข้าว และหญ้าอ่อน วางไข ่ครั้งละ 2 ฟอง

เลียงผ


ชื่อสามัญ
Serow
ชื่อวิทยาศาสตร์
Capricornis sumatraensis
ลักษณะ
เป็นสัตว์กีบคู่มีเขาจำพวกแพะ ความสูงที่ไหล่ 85 - 94 ซ.ม. หนักประมาณ 85 - 140 ก.ก. อาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผา หรือถ้ำตื้น ว่องไวและปราดเปรียวมาก สามารถว่ายน้ำข้ามระหว่างเกาะ และแผ่นดินได้ มีประสาทตา หู และรับกลิ่นได้ดีมาก ชอบกินพืชต่างๆ ออ กลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 7 - 8 เดือน

กวางผา


ชื่อสามัญ
Goral
ชื่อวิทยาศาสตร์
Naemorhedus griseus
ลักษณะ
มีลักษณะคล้ายแพะ ความสูงที่ไหล่ 50 - 70 ซ.ม. หนักประมาณ 22 - 32 ก.ก. มีขาที่แข็งแรง สามารถกระโดดตามชะง่อนผาได้อย่างว่องไว พบตามยอดเขาสูงชันจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 1,000 เมตร ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปี อาหารได้แก่ พืชตามสันเขาและหน้าผาหิน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 6 - 8 เดือน มีอายุประมาณ 8 - 10 ปี

ละองหรือละมั่ง


ชื่อสามัญ
Eld's Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cervus eldi
ลักษณะ
ความสูงที่ไหล่ 1.2 - 1.3 เมตร หนักประมาณ 95 - 150 ก.ก. ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง เล็ก ๆ ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน กินใบหญ้าใบไม้และผลไม้เป็นอาหาร ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนานประมาณ 7 - 8 เดือน


สมั่น

ชื่อสามัญ
Schomburgk's Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cervus schomburgki
ลักษณะ
เป็นกวางขนาดกลาง และได้ชื่อว่ามีเขาสวยงามที่สุด ความสูงที่ไหล่ 1 เมตร การแตกแขนงของเขา แขนงทั้ง 2 จะทำมุมแยกออกไปเท่ากับลำกิ่งเดิม คล้ายสุ่ม ชาวบ้านจึงเรียกว่า "กวางเขาสุ่ม" ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ และอยู่เฉพาะในทุ่งโล่ง ไม่อยู่ตามป่าทึบ เพราะเขาจะเกี่ยวพันเถาวัลย์ได้ง่าย ชอบกินยอดหญ้าอ่อน ผลไม้และใบไม้

กูปรี




ชื่อสามัญ
Kouprey
ชื่อวิทยาศาสตร์
Bos sauveli
ลักษณะ
เป็นสัตว์ป่าตระกูลเดียวกับกระทิงและวัวแดง ความสูงที่ไหล่ 1.7 - 1.9 เมตร หนักประมาณ 700 - 900 ก.ก. อยู่รวมกันเป็นฝูง 2 - 20 ตัว มีนิสัยปราดเปรียว ตัวเมียจะเป็นตัวนำฝูงหากินและหลบหนีศัตรู ตัวผู้ตัวใหญ่ที่สุดจะเป็นจ่าฝูง ชอบกินหญ้า ใบไม้ และดิน เป็น ครั้งคราว ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9 - 10 เดือน

ควายป่า


















ชื่อสามัญ
Wild Water Buffalo
ชื่อวิทยาศาสตร์
Bubalus bubalis
ลักษณะ
รูปร่างปราดเปรียวและขนาดลำตัวใหญ่กว่าควายบ้าน ความสูงที่ไหล่ 1.6 - 1.9 เมตร หนักประมาณ 800 - 1,200 ก.ก. ชอบนอนแช่ปลักให้ดินโคลนพอกลำตัว เพื่อป้องกันแมลงรบกวน มีนิสัยชอบอยู่เป็นฝูง จะดุร้ายมากถ้าบาดเจ็บ กินใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องประมาณ 10 เดือน

แรด



































ชื่อสามัญ
Javan Rhino
ชื่อวิทยาศาสตร์
Rhinoceros sondaicus
ลักษณะ
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ความสูงที่ไหล่ 1.60 - 1.75 เมตร น้ำหนัก 1,500 - 2,000 ก.ก. ชอบนอนในปลักโคลนตมหนองน้ำ เพื่อไม่ให้หนังแตกและถูกแมลงรบกวน มีสายตาไม่ค่อยดีนัก แต่มีประสาทสัมผัสในการรับกลิ่นดีมาก ชอบกินยอดไม้ ใบไม้ และผลไม้ ออกลูกครั้งล ะ 1 ตัว ตั้งท้องนานประมาณ 16 เดือน มีอายุยืนประมาณ 50 ปี

กระซู่















ชื่อสามัญ
Sumatran Rhino
ชื่อวิทยาศาสตร์
Didermocerus sumatraensis
ลักษณะ
จัดเป็นแรดที่พันธุ์เล็กที่สุด ความสูงที่ไหล่ 1 - 1.4 เมตร น้ำหนัก 900 - 1,000 ก.ก. มี 2 นอ ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทในการรับกลิ่นดีมาก เมื่อพบสิ่งกีดขวางจะไม่ข้าม และมักใช้หัวดันให้พ้นทางเดิน ชอบกินกิ่งไม้ ใบไม้และผลไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 7 - 8 เดือน

สมเสร็จ















ชื่อสามัญ
Malayan Tapir
ชื่อวิทยาศาสตร์
Tapirus indicus
ลักษณะ
มีประสาทสัมผัสทางกลิ่นและเสียงดีมาก ชอบออกหากินในเวลากลางคืน มักมุดหากินตามที่รกทึบ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 13 เดือน

นกแต้วแล้วท้องดำ


















ชื่อสามัญ
Gurney's Pitta
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pitta gurneyi
ลักษณะ
ขนาดลำตัวยาว 21 ซ.ม. ชอบทำรังบนกอระกำและกอหวาย ซึ่งมีหนามแหลม ใกล้ลำธารเล็ก ๆ เพื่อสะดวกต่อการหาอาหาร กินไส้เดือน ตัวอ่อนด้วง ปลวก จิ้งหรีด ตั๊กแตน หอยทาก และกบ เมื่อตกใจหรือมีอันตรายจะร้อง "แต้ว...แต้ว..." เพื่อเป็นสัญญาณเตือนนก ตัวอื่น วางไข่คราวละ 3 - 4 ฟอง

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร














ชื่อสามัญ
White-eyed River-Martin
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pseudochelidon sirintarae
ลักษณะ
นกนางแอ่นชนิดลำตัวยาว 15 ซ.ม. พบครั้งแรกในประเทศไทย ปี 2511 ในบริเวณ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ จะเกาะนอนอยู่ในฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ตามใบอ้อ และ ใบสนุ่น โฉบจับแมลงเป็นอาหาร